ระเบียบกองทัพบก

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

การส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท ๒,๔



ระเบียบกองทัพบก

การส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท ๒,๔



ตอนที่ 1
คำจำกัดความ
ข้อ 5 คำจำกัดความที่ใช้ในระเบียบนี้
5.1 การส่งกำลัง หมายถึง การปฏิบัติการในเรื่อง ความต้องการการจัดหาการแจกจ่าย และ การจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ รวมทั้งการควบคุมการปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว
5.2 ความต้องการ หมายถึง การกำหนดหรือการเสนอหรือคำขอในเรื่องสิ่งอุปกรณ์ตามจำนวนและในเวลาที่บ่งไว้ หรือตามเวลาที่กำหนดไว้
5.3 การควบคุม หมายถึง การควบคุมทางบัญชี และการควบคุมทางการส่งกำลัง
5.4 การควบคุมทางบัญชี หมายถึง วิธีดำเนินการในการควบคุมสิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ การควบคุมการแจกจ่าย การจ่ายเพิ่มเติม การรวบรวมบันทึกรายงานการจัดทำข้อมูลถาวรต่าง ๆ การสำรวจ การรายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับระดับสิ่งอุปกรณ์ เพื่อการประหยัดโดยต่อเนื่องทุกขั้นตอนในสายงานการส่งกำลังและสายการบังคับบัญชา นับตั้งแต่สิ่งอุปกรณ์ได้เริ่มเข้าสู่ระบบการส่งกำลังไปจนกระทั่งหน่วยใช้ได้ใช้หมดสิ้นไป และได้รับอนุมัติให้จำหน่ายออกจากบัญชีคุมของกองทัพบกแล้ว
5.5 การควบคุมทางการส่งกำลัง หมายถึง วิธีดำเนินการที่เกี่ยวกับระบบการรายงาน การคำนวณ การรวบรวมข้อมูลและการประเมินค่า เพื่อให้สิ่งอุปกรณ์ตามความต้องการทั้งสิ้นได้ส่วนสัมพันธ์กับทรัพย์สินที่มีอยู่ อันจะเป็นแนวทางในการประมาณการด้านงบประมาณ  การจัดหา การแจกจ่าย และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์
5.6  การจัดหา หมายถึง กรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอุปกรณ์
5.7  การแจกจ่าย หมายถึง การรับ การจ่าย การเก็บรักษา และการขนสิ่งอุปกรณ์
5.8 การจำหน่าย หมายถึง การตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ออกจากความรับผิดชอบของกองทัพบก เนื่องจากสูญไป สิ้นเปลืองไป (สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง)   ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมคืนสภาพได้อย่างคุ้มค่า   เสื่อมสภาพจนใช้งานไม่ได้หรือสูญหาย ตาย เกินความต้องการ หรือเป็นของล้าสมัย ไม่ใช้ราชการต่อไป
5.9 สิ่งอุปกรณ์ หมายถึง  สิ่งของที่จำเป็นทั้งมวล สำหรับหน่วยทหารรวมทั้งที่มีไว้เพื่อดำรงอยู่ และการปฏิบัติของหน่วยทหารด้วย เช่น อาหาร เครื่องแต่งกายเชื้อเพลิง สัตว์ ยานพาหนะ อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด เครื่องจักรกล ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น
5.10 สิ่งอุปกรณ์ประเภท  หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์ซึ่งอนุมัติให้หน่วยมีไว้ในครอบครอง โดยระบุเป็นอัตราของหน่วยหรือบุคคล เช่น เครื่องแต่งกาย อาวุธ เครื่องมือและชิ้นส่วนซ่อม เป็นต้น
5.11 สิ่งอุปกรณ์ประเภท 4 หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ซึ่งมิได้ระบุไว้ในอัตราของหน่วย หรือมิได้จัดไว้เป็นสิ่งอุปกรณ์ตามประเภทอื่นๆแต่อาจอนุมัติให้หน่วยมีไว้ในครอบครองตามความจำเป็น เช่น วัสดุในการก่อสร้าง และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
5.12 สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูป  หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์ที่เกิดจากการรวมเข้าด้วยกันของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป องค์ประกอบ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และ/หรือ วัสดุซึ่งพร้อมที่จะใช้ได้ตามความหมาย เช่น เรือ รถถัง เครื่องบิน และโรงงานจักรกลเคลื่อนที่ เป็นต้น
5.13 สิ่งอุปกรณ์สำคัญ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการฝึกการรบราคาแพงยากต่อการจัดหาหรือการผลิต มีความต้องการไม่แน่นอน อาจจะขาด หรือเกินอยู่เสมอในระบบการส่งกำลังและ/หรือเป็นรายการที่อาจเกิดวิกฤตในวัสดุขั้นมูลฐานโดยกรมฝ่ายยุทธบริการเสนอบัญชีรายการให้กองทัพบกประกาศเป็นสิ่งอุปกรณ์สำคัญ   เช่น รถถัง ชุดเรดาห์ เครื่องแต่งกายพิเศษ โทรศัพท์สนาม และหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
5.14 สิ่งอุปกรณ์หลัก หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ใช้เวลาในการจัดหานานและราคาแพง แต่มิได้ระบุไว้เป็นสิ่งอุปกรณ์สำคัญ โดยกรมฝ่ายยุทธบริการที่รับผิดชอบทำบัญชีและประกาศเป็นสิ่งอุปกรณ์หลักได้เอง เช่น เครื่องมือก่อสร้าง และเครื่องสื่อสารประจำที่เป็นต้น
5.15 สิ่งอุปกรณ์รอง  หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปทุกรายการซึ่งมิได้ระบุไว้เป็นสิ่งอุปกรณ์สำคัญและสิ่งอุปกรณ์หลัก โดยทั่วไปแล้วสิ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะใช้เวลาในการจัดหาสั้น ราคาถูกและง่ายต่อการจัดหา เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสนาม สิ่งอุปกรณ์ทั่วไป เครื่องใช้ประจำบ้านพัก และน้ำมัน เป็นต้น
5.16 สิ่งอุปกรณ์ถาวร หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ถาวรกำหนดอายุ และสิ่งอุปกรณ์ถาวรไม่กำหนดอายุของสิ่งอุปกรณ์ทั้งมวล ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติของหน่วยทางทหาร         
5.17 สิ่งอุปกรณ์ถาวรกำหนดอายุ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปซึ่งมีสภาพและลักษณะมั่นคงต่อการใช้งานแต่ย่อมเสื่อมสภาพเสื่อมราคาไปตามวาระและระยะเวลาแห่งการใช้งาน
5.18 สิ่งอุปกรณ์ถาวรไม่กำหนดอายุ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูป ซึ่งมีสภาพและลักษณะมั่นคงต่อการใช้งาน หากมีการเก็บรักษาและการปรนนิบัติบำรุงเป็นอย่างดีแล้วย่อมจะมีอายุยืนนาน
5.19 สิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ใช้แล้วย่อมหมดสิ้นไปไม่คงรูป ไม่คงสภาพ และ/หรือ ไม่มีคุณค่าของการใช้งานเหมือนเดิม
5.20 สิ่งอุปกรณ์สำรองเพื่อการซ่อมบำรุง   หมายถึง   สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูป  หรือองค์ประกอบเพื่อสะสมไว้ ณ ที่ตั้งการส่งกำลังหรือซ่อมบำรุง เพื่อจ่ายทดแทนสิ่งอุปกรณ์ที่ชำรุดซ่อมได้ซึ่งไม่สามารถซ่อมบำรุงโดยหน่วยสนับสนุนได้ทันตามกำหนด
5.21 สิ่งอุปกรณ์ใช้การได้ หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์ที่มีคุณภาพใช้งานได้ตามความมุ่งหมายเดิม
5.22 สิ่งอุปกรณ์ใช้การไม่ได้ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ล้าสมัยหรือสึกหรอชำรุด ไม่สามารถนำไปใช้ได้ตามความมุ่งหมายเดิม จำเป็นต้องซ่อมปรับสภาพ หรือดัดแปลงก่อนที่จะนำเข้าเก็บรักษาเพื่อแจกจ่ายหรือเพื่อใช้งานต่อไป
5.23 สิ่งอุปกรณ์ซ่อมคุ้มค่า หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ชำรุดและต้องการซ่อม ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการเหมาะสม และประหยัดในการซ่อมบำรุง
5.24 สิ่งอุปกรณ์งดใช้การ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปซึ่งอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                   5.24.1 ไม่ทำงานตามหน้าที่
                   5.24.2 ไม่ปลอดภัยในการใช้
                   5.24.3 ถ้าใช้ต่อไปจะเสียหายมากขึ้น
5.25 ยุทธภัณฑ์ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ทั้งมวลอันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการ เพื่อดำรงและสนับสนุนการปฏิบัติการรบของหน่วยทหาร ( รวมถึง เรือรบ รถถัง อาวุธอัตตาจรอากาศยาน ฯลฯ และอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง ชิ้นส่วนอะไหล่ ชิ้นส่วนซ่อมและอุปกรณ์สนับสนุน แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ สถานที่ตั้งและสาธารณูปโภค )
5.26 ยุทโธปกรณ์ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ทั้งมวลที่ต้องการจัดให้บุคคลหรือหน่วยทหาร ได้แก่ อาวุธ ยานพาหนะ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือ ฯลฯ
5.27 วัสดุ หมายถึง ชิ้นส่วนหรือสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งได้ทำขึ้น หรือประกอบขึ้น
5.28 ชิ้นส่วนซ่อม หมายถึง องค์ประกอบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนที่ใช้ในการซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือส่งกำลัง และ/หรือ คู่มือเทคนิคที่มีบัญชีชิ้นส่วนซ่อม เช่น ลำกล้องปืน คาบูเรเตอร์ และหลอดวิทยุ เป็นต้น
5.29 องค์ประกอบ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่เกิดจากการรวมเข้าด้วยกันของส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ในตัวเอง    แต่อาจต้องอาศัยการควบคุม จากภายนอก หรืออาศัยการขับเคลื่อนจากแหล่งอื่นประกอบด้วย เช่น เครื่องยนต์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
5.30 ส่วนประกอบ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่เชื่อมต่อหรือสัมพันธ์กันตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปและสามารถถอดแยกออกจากกันได้ เช่น เครื่องเปลี่ยนความเร็วและคาบูเรเตอร์ เป็นต้น
5.31 ชิ้นส่วน หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ไม่สามารถถอดแยกออกจากกันได้   หรือเป็นสิ่งอุปกรณ์ที่ได้ออกแบบไว้ให้ถอดแยกออกจากกันไม่ได้ เช่น หลอดวิทยุ ยางนอกรถยนต์ และลำกล้องปืน เป็นต้น
5.32 คลัง  หมายถึง  หน่วยที่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจในเรื่องความต้องการ การควบคุม การจัดหา การแยกประเภท การแจกจ่าย การซ่อมบำรุง และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์
5.33 คลังสายงาน หมายถึง คลังซึ่งกรมฝ่ายยุทธบริการ  หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษได้จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติภารกิจของคลังสายงานเดียวกัน
5.34 คลังทั่วไป หมายถึง คลังที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจของคลังตั้งแต่สองสายงานขึ้นไป
5.35 คลังกองบัญชาการช่วยรบ   หมายถึง   คลังทั่วไปซึ่งกองบัญชาการช่วยรบได้จัดตั้งขึ้น
5.36 คลังส่วนภูมิภาค  หมายถึง  คลังทั่วไปซึ่งมณฑลทหารบก  หรือคลังจังหวัดทหารบกได้จัดตั้งขึ้น
5.37 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง    หมายถึง    หน่วยสนับสนุนโดยตรง หน่วยสนับสนุนทั่วไป และ คลัง
5.38 หน่วยสนับสนุนทั่วไป หมายถึง หน่วยซึ่งมีภารกิจสนับสนุนด้าน การส่งกำลัง และ/หรือ การซ่อมบำรุงต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง
5.39 หน่วยสนับสนุนโดยตรง หมายถึง หน่วยซึ่งมีภารกิจสนับสนุนด้านการส่งกำลัง และ/หรือ การซ่อมบำรุงโดยตรงต่อหน่วยใช้
5.40 หน่วยใช้ หมายถึง หน่วยที่ได้รับสิ่งอุปกรณ์ตาม อจย.,อสอ.หรืออนุมัติอื่นใด ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้สิ่งอุปกรณ์นั้น ๆ
5.41 หน่วยเบิก หมายถึง หน่วยใช้ตั้งแต่ระดับกองพันหรือเทียบเท่าหรือกองร้อยอิสระขึ้นไป หรือหน่วยอิสระที่ ทบ.อนุมัติ หรือหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังทุกระดับที่เบิกสิ่งอุปกรณ์ไปยังหน่วยจ่าย
5.42 หน่วยจ่าย หมายถึง หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังซึ่งทำหน้าที่จ่ายสิ่งอุปกรณ์ให้แก่หน่วยเบิก
5.43  หน่วยบัญชีคุม   หมายถึง  หน่วยซึ่งดำเนินการควบคุมทางบัญชีต่อสิ่งอุปกรณ์
5.44  วันส่งกำลัง หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่ประมาณว่าจะใช้      สิ้นเปลืองไปในหนึ่งวันตามสภาวะการณ์ต่าง ๆ
            5.45 ระดับส่งกำลัง หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ ณ ที่ตั้งการส่งกำลังต่าง ๆที่ได้รับอนุมัติให้สะสมไว้   เพื่อสนับสนุนการส่งกำลังให้สมบูรณ์และต่อเนื่อง โดยปกติจะต้องกำหนดเป็นจำนวนวันส่งกำลัง หรืออาจจะกำหนดเป็นจำนวนสิ่งอุปกรณ์ก็ได้
            5.46 ระดับปฏิบัติการ หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่ต้องการให้มีไว้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในระยะเวลาเบิกหรือรับสิ่งอุปกรณ์ที่ส่งมาเพิ่มเติม
            5.47  ระดับปลอดภัย  หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมจากระดับปฏิบัติการให้มีคงคลังไว้เพื่อสามารถปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่องในเมื่อมีเหตุขัดข้องในการส่งเพิ่มเติมตามปกติ หรือเมื่อความต้องการไม่เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้
5.48 ระดับเก็บกัน หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง  ได้รับอนุมัติให้เก็บกันไว้ได้เกินกว่าเกณฑ์เบิก
5.49 เกณฑ์สะสม หมายถึง ปริมาณสูงสุดของสิ่งอุปกรณ์ที่มีคงคลัง เพื่อสนับสนุนทางการปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งประกอบด้วยระดับปฏิบัติการและระดับปลอดภัย
5.50 เกณฑ์เบิก  หมายถึง ปริมาณสูงสุดของสิ่งอุปกรณ์คงคลังรวมกับค้างรับ   ซึ่งจำเป็นสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการในระยะนั้น และเพียงพอสำหรับความต้องการที่คาดว่าจะมีในอนาคต หรือคือผลรวมของเกณฑ์สะสมกับเวลาในการเบิกและจัดส่ง
5.51 เกณฑ์ความต้องการ หมายถึง ปริมาณสูงสุดของสิ่งอุปกรณ์คงคลังรวมกับที่สั่งซื้อ ซึ่งจำเป็นสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการในระยะนั้น และพอเพียงสำหรับความต้องการที่คาดว่าจะมีในอนาคต หรือคือผลรวมของสิ่งอุปกรณ์ตามระดับปลอดภัยวงรอบการจัดหา   เวลาล่วงหน้าในการจัดหา และเวลาที่เสียไปในการรายงานสถานภาพ
5.52 เวลาในการเบิกและจัดส่ง หมายถึง เวลานับตั้งแต่วันที่หน่วยเบิกทำการเบิกสิ่งอุปกรณ์ จนถึงวันที่ได้รับสิ่งอุปกรณ์
5.53 เวลาล่วงหน้าในการจัดหา หมายถึง เวลานับตั้งแต่ริเริ่มทำการจัดหาจนถึงวันที่ได้รับสิ่งอุปกรณ์งวดแรก เข้าสู่ระบบการส่งกำลัง
5.54  วงรอบการสอบทาน  หมายถึง   ห้วงเวลาที่กำหนดให้ทำการสอบทาน
5.55  วงรอบการเบิก หมายถึง ห้วงเวลาที่กำหนดให้ทำการเบิก                        
5.56  วงรอบการจัดหา หมายถึง ห้วงเวลาที่กำหนดให้ทำการจัดหา
5.57  จุดเพิ่มเติม หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ระดับที่ต้องการทำการเบิกเพิ่มเติม ซึ่งเท่ากับผลรวมของระดับปลอดภัยกับเวลาในการเบิกและจัดส่ง     ทั้งนี้เพื่อเก็บรักษาไว้ซึ่งเกณฑ์สะสม
5.58  ปัจจัยทดแทน  หมายถึง ตัวเลขแสดงความสิ้นเปลืองของสิ่งอุปกรณ์ถาวร เป็นร้อยละหรือพันละต่อเดือน
5.59 อัตราสิ้นเปลือง หมายถึงตัวเลขที่แสดงความสิ้นเปลืองของสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง โดยกำหนดเป็นมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสม
5.60 คงคลัง หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ในครอบครองของหน่วยตามบัญชีคุมในขณะนั้น
5.61 ค้างรับ  หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่คาดหมายว่าจะได้รับจาก  การจัดซื้อ การเบิกและจากแหล่งอื่น ๆ เช่น การโอน และการซ่อมบำรุง เป็นต้น
5.62 ค้างจ่าย หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ซึ่งหน่วยจ่ายไม่สามารถจ่ายให้หน่วยเบิกได้ครบในขณะที่ขอเบิกมาและบันทึกเป็นหลักฐานไว้เพื่อปลดเปลืองค้างจ่ายให้เมื่อมีสิ่งอุปกรณ์
5.63  การเบิก  หมายถึง วิธีดำเนินการเสนอคำขอไปยังหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง เพื่อขอรับสิ่งอุปกรณ์ตามจำนวนที่ต้องการ
5.64 การยืม หมายถึง วิธีดำเนินการขอรับการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์เป็นการชั่วคราว (เว้นชิ้นส่วนซ่อม)สำหรับเพิ่มพูนการปฏิบัติภารกิจหรือสำหรับการทรงชีพของหน่วยใช้ ซึ่งหน่วยไม่ได้รับอนุมัติให้มีสิ่งอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ในครอบครอง หรืออนุมัติให้มีไว้แล้วแต่ไม่เพียงพอ
5.65 การติดตามใบเบิก  หมายถึง  การสอบถามเพื่อขอทราบผลการปฏิบัติต่อใบเบิกที่ได้เสนอไปยังหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง
5.66 การยกเลิกการเบิก หมายถึง การแจ้งระงับการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ตามใบเบิกที่หน่วยเบิกเสนอมา อาจจะเป็นทั้งหมด หรือบางส่วนของการเบิกก็ได้
5.67 การรับ หมายถึง การดำเนินกรรมวิธีเพื่อเข้าครอบครองสิ่งอุปกรณ์ที่ได้มาจากการจัดหา
5.68 การจ่าย หมายถึง การดำเนินการตอบสนองความต้องการตามที่หน่วยเบิกได้ส่งคำขอมา
5.69การปลดเปลื้องค้างจ่ายหมายถึงการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ที่ค้างจ่ายให้กับหน่วยเบิกโดยอัตโนมัติตามใบเบิกที่ค้างจ่าย
5.70  การเก็บรักษา  หมายถึง  การเตรียมพื้นที่ การนำสิ่งอุปกรณ์เข้า-ออก การเก็บหรือการวาง การระวังรักษาสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บ รวมทั้งการปรนนิบัติบำรุง และการซ่อมบำรุงขณะเก็บและก่อนจ่ายด้วย
5.71  การสำรวจ  หมายถึง การสำรวจสิ่งอุปกรณ์และการสำรวจที่เก็บ
5.72 การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ หมายถึง การนับจำนวนและการตรวจสภาพสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บให้ตรงกับหลักฐานบัญชีคุม
5.73...การสำรวจที่เก็บหมายถึงการตรวจสอบที่เก็บสิ่งอุปกรณ์ให้ตรงกับบัตรบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์ หรือบัตรแสดงที่เก็บของ
5.74  การขนส่ง  หมายถึงการเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วยส่งกับหน่วยรับ
5.75 การส่งคืน หมายถึง การส่งสิ่งอุปกรณ์กลับคืนหน่วยจ่ายหรือหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังมิได้หมายถึงการส่งซ่อมหรือส่งสิ่งอุปกรณ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วกลับคืนหน่วยส่งซ่อม
5.76 การโอน  หมายถึง  การโอนความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ระหว่างสายยุทธบริการ หรือการโอนสิทธิครอบครองสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วย
5.77 สายการบังคับบัญชา หมายถึง ความเกี่ยวพันในการบังคับบัญชาของหน่วยเหนือที่มีต่อหน่วยรองตามลำดับ เช่น กองทัพ-กองทัพภาค-กองพล-กรม-กองพัน-กองร้อย  เป็นต้น

              5.78  สายการส่งกำลัง หมายถึง ความเกี่ยวพันในทางการส่งกำลังของหน่วยเหนือที่มีต่อหน่วยรองตามลำดับ เช่น กองทัพบก - กรมฝ่ายยุทธบริการหรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ -หน่วยสนับสนุนทั่วไป - หน่วยสนับสนุนโดยตรง - หน่วยใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น